Search


ก้อนตามตัวแม้ไม่ใช่มะเร็งก็อาจต้องผ่าตัด
  • Share this:


ก้อนตามตัวแม้ไม่ใช่มะเร็งก็อาจต้องผ่าตัด

ผมมีคนไข้มีมาปรึกษาด้วยเรื่องก้อนแถวใบหน้าและลำคอมากมาย ส่วนใหญ่จะกลัวว่าจะเป็นเนื้อร้าย แต่ความจริงแล้วน้อยมากที่จะมีโอกาสเเจ็กพ็อตเจอมะเร็ง

อันดับหนึ่งเลยของก้อนบริเวณใบหน้าเกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อเราเองนี่แหละ คล้ายๆหัวสิวอุดตันแต่ลึกกว่า บางคนบีบเอาขี้ไคลออกมาก็หายไป แต่บางคนก้อนกลับโตขึ้นเรื่อยๆ บางทีอาจมีการอักเสบติดเชื้อขึ้นมาอีก

แบบนี้ผมแนะนำว่าผ่าตัดดีกว่านะครับเพราะหากไม่ผ่าตัดก้อนก็จะโตขึ้นหรือไม่การอักเสบก็จะเป็นๆหายๆ ซึ่งจะทำให้ผิวบริเวณรอบๆดึงรั้งคล้ายแผลเป็นได้

ส่วนอันดับสองที่พบได้บ่อยเช่นกันคือก้อนไขมัน สาเหตุเราไม่ทราบนะครับ แต่ทราบว่าพวกนี้จะไม่กลายเป็นเนื้อร้ายหรอกครับ เพียงแต่ขะโตขึ้นได้เรื่อยๆ ผมมีคนไข้ที่มาหาตั้งแต่ลูกเท่าไข่นกกระทาที่ด้านหลังคอ แต่ก็บ่ายเบี่ยงกลัวการผ่าตัด ปล่อยไป3-4ปีก้อนโตเท่าลูกเทนนิสแล้วก็เลยต้องมาผ่าแต่แทนที่แผลผ่าตัดจะยาวแค่นิดเดียวก็เลยต้องยาว4-5ซมเลย

ส่วนก้อนใดๆก็ตามที่โตเร็วภายในหนึ่งเดือน หรือใหญ่กว่า5ซม แม้จะไม่มีอาการเจ็บปวดอะไร ผมก็แนะนำให้รีบมาตรวจนะครับ เพราะก้อนมะเร็งส่วนใหญ่ในระยะแรกก็ไม่มีอาการอะไรเหมือนกัน

ไม่แน่ใจจะไปที่ไหนมารพของรัฐเช่นรพ.รามาก็ได้ครับ


Tags:

About author
เพจด้านการแพทย์ที่มุ่งให้ความรู้และช่วยเหลือผู้ที่ต้องการข้อมูลทางศัลยกรรมตกแต่งที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและเชื่อถือได้โดยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีประสบการณ์การศึกษาต่อและดูแลรักษาคนไข้ทั้งในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกามาเกือบยี่สิบปี ปัจจุบันเป็นสมาชิกของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทยและสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ ติดตามอ่านบทความที่ผมเขียนได้ที่ http://drsurawejrama.wordpress.com/ นายแพทย์สุรเวช น้ำหอม ศัลยแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่งโดยเฉพาะปัจจุบันเป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี รับผิดชอบเกี่ยวกับการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์และฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่งรวมถึงการให้บริการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติบริเวณใบหน้าและศัลยกรรมตกแต่งทุกชนิดรวมถึงงานวิจัยที่มุ่งพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยของประเทศไทย จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศึกษาต่อเฉพาะทางด้านศัลยกรรมทั่วไปที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และด้านศัลยกรรมตกแต่งที่โรงพยาบาลรามาธิบดีหลังจากบรรจุเป็นอาจารย์แล้วได้ไปศึกษาต่อด้านศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าที่ Chang Gung Memorial Hospital ประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการด้านศัลยกรรมตกแต่งที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียและเป็นที่หมอเกาหลีมาดูงานการผ่าตัดใบหน้าจำนวนมาก หลังจากศึกษาต่อที่ไต้หวันเป็นเวลาหนึ่งปีก็ได้ศึกษาต่อเพิ่มเติมที่หน่วยศัลยกรรมตกแต่ง University of Washington, Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านแพทยศาสตร์ระดับ Top10 ของอเมริกาและมีความโดดเด่นด้านการวิจัยซึ่งหลังจากนายแพทย์สุรเวชได้ศึกษาต่อหนึ่งปีก็ได้รับทุน fellowship จาก National Institutes of Health(NIH) ของอเมริกาให้ทำงานด้านการวิจัยด้านสเตมเซลและการรักษาแผลเป็นอีกเป็นเวลาสามปีมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับโลกและได้รับการชักชวนจาก Professor หลายท่านให้ทำงานต่อที่อเมริกาแต่เนื่องจากความต้องการจะทำงานเพื่อช่วยเหลือคนไทยจึงได้ปฎิเสธข้อเสนอเหล่านั้นไป ปี 2554 นายแพทย์สุรเวชได้เดินทางกลับมาทำงานที่โรงพยาบาลรามาธิบดีและได้พัฒนาโครงการวิจัยเกี่ยวสเตมเซลจากไขมันการวิจัยเพื่อป้องกันแผลเบาหวานและการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับศัลยกรรมตกแต่งผ่านสื่อของRama Channel, หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, มติชน, นิตยสาร Cosmetics, นิตยสาร Allure, นิตยสารHug(7-11) นอกจากนั้นยังรักษาผู้ป่วยทุกระดับชั้นเช่นลุงกุ๋ยผู้ป่วยที่มีใบหน้าพิการไม่สามารถหลับตาและทานอาหารได้ให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและเป็นได้ให้สัมภาษณ์ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้และเรื่องเด่นเย็นนี้ทางไทยทีวีสีช่อง3 ปัจจุบันนี้นายแพทย์สุรเวชให้บริการตรวจคนไข้ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นหลักและมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการให้บริการในโรงพยาบาลของรัฐให้เป็นที่พึ่งพาแก่ประชาชนทุกคนอย่างดีที่สุดโดยเสียค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุดและต้องการที่จะให้ประชาชนและผู้ป่วยได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับศัลยกรรมตกแต่งเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจก่อนเข้ารับการรักษาโดยไม่ถูกบิดเบือนจากการโฆษณาและการตลาด ติดตามและพูดคุยกับนายแพทย์สุรเวชได้ที่ Website : http://drsurawejrama.wordpress.com/ Email : [email protected] FB page : https://www.facebook.com/drsurawejrama
Page for everyone who want straight talk about Cosmetic Surgery: A Guide for making informed decision and avoid useless treatments by Dr Surawej Numhom
View all posts